เมนู

ทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
นั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่า
อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-
เวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-
เวทนานั้นแลดับไป.
[390] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะ
การเสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละ
ออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้นย่อมดับไป สงบไป ฉันใด
ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ
มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่
ปัจจัยนั้นดับไป.
จบ ผัสสมูลกสูตรที่ 10

อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในผัสสมูลกสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ใน
บทเหลือก็นัยนี้นั่นแล ส่วนในข้อนี้ การพรรณนาตามลำดับบท ท่านให้